วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการปลูกต้นหมากเหลือง

วิธีปลูกต้นหมากเหลือง



ประโยชน์และสรรพคุณต้นหมากเหลือง

ประโยชน์และสรรพคุณต้นหมากเหลือง

ผู้คนในสยามประเทศนับล่วงเวลา 30-40 ปีขึ้นไป นิยมกินหมาก โดย การนำหมากเคี้ยวกับพลูและปูนแดง ผู้เฒ่าผู้แก่ไปไหนมาไหนจึงมักจะ กระเตงเชี่ยนหมากติดตัวไปด้วย หรือหากอายุมากแล้วก็จะเป็นภาระของบุตร หลานที่ต้องถือไปให้ท่าน ในเชี่ยนหมากจะพบลูกหมาก พลู ปูนแดง มีดหั่น หมาก ตะบันหมาก ผ้าเช็ดปาก และกระป๋องนมข้นเปล่า (ปัจจุบันพบว่าใช้ถุง พลาสติก) สำหรับบ้วนน้ำหมาก ผู้กินหมากปากจะแดงไปด้วยสีของน้ำหมาก และฟันจะมีสีน้ำตาลแดงจนสีดำเข้ม อันเนื่องมาจากคราบของแทนนิน แต่ ปัจจุบันจะพบเห็นผู้ที่กินหมากน้อยลง หมากจึงเป็นสัญลักษณ์ของความ คร่ำครึโบราณ แต่แท้จริงแล้วหมากยังคงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มาก ในด้านการรักษาโรคของมนุษย์และสัตว์



หมากเป็นพืชในวงศ์ Palmae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Areca catechu Linn. ชื่อทั่วไปภาษาอังกฤษว่า Areca palm หรือ betel nut palm สำหรับชื่อท้องถิ่น ได้แก่ เค็ด พลา สะลา เซียด (จังหวัดนครราชสีมา) แซ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ปีแน ปีนัง (มาเลเซีย) มะ (ตราด) สีซะ (กะเหรี่ยง พายัพ) หมาก หมากเมีย (ชื่อทั่วไปไทยภาคกลาง) หมากมู้ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) โดยหมากมีถิ่นกำเนิด ในทวีปเอเชียเขตร้อน



หมากมีลำต้นโต ลำต้นโดยธรรมชาติจะตั้งตรงสูงชะลูดเป็นปล้อง ไม่มี กิ่งก้านตามลำต้น แตกกิ่งก้านใบอยู่ที่ยอดของลำต้น ใบเล็กยาวมาก ดอกออก เป็นช่อ ลูกออกเป็นพวงเรียกว่า ทะลายหมาก ผลที่ยังไม่แก่เรียก หมากดิบ ผลที่แก่จัดเรียก หมากสง เนื้อหมากที่ฝานบางๆ แล้วตากแห้ง มีลักษณะคล้าย อีแปะ เรียก หมากอีแปะ ส่วนผลแก่จัดที่เก็บไว้ทั้งเปลือกเพื่อไว้กินนานๆ เรียก หมากยับ หมากดิบมีสีเขียวจัดเมื่อแก่จัดจะมีสีแสด เมล็ดหมากมีลักษณะ เกือบกลม เมื่อผ่าตามขวาง จะเห็นลายภายในสีน้ำตาลแก่สลับขาว เหมือน ลายหินอ่อน มีรสฝาดเฝื่อน



องค์ประกอบสำคัญทางเคมีที่พบในหมาก ได้แก่ แอลคาลอยด์ เช่น arecoline, arecolidine, arecoidine และ guvacine ส่วนสารฝาด ได้แก่ แทนนิน (tannin)



ส่วนที่ใช้ประโยชน์และสรรพคุณ



เมล็ดหมาก



-ใช้ฟอกหนัง เนื่องจากมีปริมาณแทนนินสูงและใช้เป็นส่วนผสมของ การย้อมผ้าสีกากี แหและอวนที่ทำจากด้าย



- หมากสง ใช้เป็นยาขับเหงื่อ ทำให้ม่านตาหรี่



- กินกับพลูและปูนแดง ทำให้เหงือกแข็งแรง



- หมากมีแอลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาท



- ฝานเนื้อหมากดิบ ทารักษาแผลน้ำกัดตามง่ามมือ เท้า



- รับประทานแก้ท้องร่วง อาเจียน



- ฝนทาปาก เป็นยาสมานแผล ปากเปื่อย



- ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิในมนุษย์



- สำหรับสัตว์มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย เบื่อพยาธิตัวกลมและตัวแบน



รากหมาก



- ต้มอมแก้ปากเปื่อย ร้อนใน กระหายน้ำ แก้บิด ขับปัสสาวะ



ใบหมาก



- ต้มอาบแก้คัน ผสมกับยารับประทาน ใช้ลดไข้



จึงเห็นได้ว่าหมากซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในอดีต แต่ในปัจจุบันเกษตรกร ให้ความสำคัญน้อยและปลูกน้อยลง อันเนื่องจากความนิยม และการบริโภค ลดลง แต่ก็ยังสามารถพัฒนาเป็นยาสมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหมากได้ หากมีการประสานการวิจัยค้นคว้าศึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้แพร่หลาย มากขึ้น

ป้ายสมบูรณ์หมากเหลือง

ต้นหมากเหลือง
ชื่อวงศ์: PALMAE
ชื่อสามัญ: Golden  fruited  Yellow  Madagascar  palm.
ชื่อท้องถิ่น: หมากเหลือง
ลักษณะวิสัยปาล์ม

ลักษณะ:  
เป็นปาล์มแตกกอ ลำต้นสูงถึง  3  เมตร ใบแบบขนนก เรียงบนก้านใบ ก้านใบมีสีเหลือง 
ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ต้นอ่อนจะมีสีเหลืองเด่นชัด   ใบอ่อนช้อนนิยมปลูกเป็นไม้กระถาง
การขยายพันธุ์: 
การเพาะเมล็ด
ประโยชน์:
ใช้ตกแต่งภายในอาคาร  และจัดสวนทั้งในร่มและกลางแจ้ง  
อ้างอิงจาก เอกสารงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโนนสูงศรีธานี

รายละเอียดหมากเหลือง




         
ข้อมูลทางพฤกษ์ศาสตร์
          ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu Linn
         วงศ์ : PALMAE
         ชื่อสามัญ : Betel nut , Areca palm
         ชื่อท้องถิ่น : หมากเมีย(ทั่วไป) หมากเมีย มะ(ซอง-ตราด) เค็ด สะลา พลา(เขมร)
                          ปีแน(มลายู)
 
 
                                                        ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์
เป็นพืชยืนต้น มีลำต้นตรง ไม่แตกกิ่งก้าน สูง 5-15 เมตร ลำต้นเดี่ยวแข็งแรง ลำต้นมีสีเขียวบริเวณ
ใกล้ส่วนยอด และเมื่ออายุมากขึ้นลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบยาวถึง 4 เมตร และมีใบฝอยหลายใบ
แต่ละใบยาวประมาณ 60-90 ซม. ดอกหมากจะขึ้นที่ซอกโคนก้านใบ ดอกรวมเป็นช่อใหญ่ ดอกมี
สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมหวานเย็น ผลมีลักษณะกลมหรือรี ผลอยู่รวมกัน 50-100 ผลใน 1 ทะลาย
ผลอ่อนสีเขียวเรียกว่าหมากดิบ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองเรียกว่าหมากสง
 

 
 
                                                      ประโยชน์และสรรพคุณยาไทย
ลูกอ่อน รสฝาดหวาน เจริญอาหาร ขับเสมหะ สมานแผล แก้เมา แก้อาเจียน แก้ไอเปลือกผลรสจืดหวาน
ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น แก้บิด แก้ท้องเสียเมล็ด รสฝาด แก้บิดปวดเบ่ง แก้ปวดแน่นท้องฆ่า
พยาธิ ขับปัสสาวะ
 
 

                                                                                           ความเชื่อ
ปลูกต้นหมากไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอ่อนน้อมความมีน้ำใจ เพราะหมากมีการแตกใบที่สวยงามลักษณะที่มีความนิ่มนวลอ่อนไหว
นอกจากนี้ลักษณะการแตกใบของหมากยังมีลักษณะที่โดดเด่นสง่านวลชวนมองนอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบหมากไว้ว่าเป็นชื่อหมาก
ชนิดหนึ่งที่ใช้รับประทานในสมัยโบราณคือหมากสงใช้ในพิธีต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นจึงแสดงถึงการมีนิสัยใจคอที่ดี มีน้ำใจงามเพื่อ
เป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ที่ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่า
การปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

 
                                                                   การปลูกหมาก
 
      การเตรียมแปลงปลูก : แปลงปลูกต้องมีการะบายน้ำดี ถ้าเป็นที่มีน้ำขังควรมีการยกร่อง หรือทำทางระบายน้ำ
ก่อนปลูกต้องมีการไถ และพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง ควรเก็บตอไม้และเศษไม้ออก เพราะเป็นแหล่งอาศัยขอ
ศัตรูพืช และปลวก รูปแบบการปลูก อาจเป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 2x2 เมตร
การปลูกแบบสี่เหลี่ยม ใช้กล้า 400 ต้น / ไร่ ปลูกแบบสามเหลี่ยมใช้กล้า 461 ต้น / ไร่ แต่ถ้าปลูกบนร่อง
จำนวนต้นจะลดล งขึ้นกับระยะระหว่างร่อง การปลูกแบบสี่เหลี่ยม ควรทำสันร่องกว้าง 4 เมตร แบบสามเหลี่ยม
ควรกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 3 แถว/ร่อง 
      การเตรียมหลุม : ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรขุดหลุม ขนาด 50x50x50 ซม. แต่ดินที่มีความอุดม
สมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบน
แล้วกลบหลุมด้วยดินที่เหลือ 
      ฤดูปลูก : ควรเป็นต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนัก 1-2 ครั้ง
      การปลูก : เวลาปลูกควรตั้งต้นกล้าให้ตรง และให้ด้านบนของผลอยู่ระดับผิวดิน กลบดินให้แน่น ปักหลักค้ำต้น
เพื่อกันต้นโยก รดน้ำให้ชุ่ม ควรทำร่มบังแดด เพื่อลดการคายน้ำ และป้องกันไม่ให้ใบไหม้